..

วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

มะเร็งปากมดลูก


มะเร็งปากมดลูกคืออะไร
มะเร็ง คือ เนื้อร้ายภายในร่างกายที่เจริญเติบโตขึ้นโดยปราศจากการควบคุม
ปากมดลูก คือ อวัยวะในร่างกายสตรี เป็นส่วนหนึ่งของมดลูก อยู่ภายในช่องคลอดมีหน้าที่ ป้องกันสิ่งแปลกปลอมภายนอกร่างกายและเป็นทางผ่านของสิ่งคัดหลั่งจากมดลูก มะเร็งปากมดลูก เป็นเนื้อร้ายที่เกิดขึ้นบริเวณปากมดลูก สามารถแพร่ขยายลุกลามและกดเบียด อวัยวะใกล้เคียงมดลูกภายในอุ้งเชิงกราน และสามารถกระจายไปยัง ปอด ตับ ลำไส้ หรือสมอง ทำให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะเหล่านั้น ตามมาได้

มะเร็งปากมดลูกเกิดจากอะไร
มะเร็ง ปากมดลูกเป็นมะเร็งแห่งความรัก หากปราศจากการมีเพศสัมพันธ์ มะเร็งก็ไม่เกิด พบว่าเชื้อไวรัส HPV เป็นสาเหตุที่ชักนำให้ปากมดลูกเกิดความผิดปกติกลายเป็นมะเร็ง โดยเชื้อไวรัส HPV นี้เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดหูดหงอนไก่ และเมื่อสตรีได้รับเชื้อไวรัส HPV มาจากการมีเพศสัมพันธ์ เชื้อชนิดนี้จะเข้าไปเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมภายในเซลล์ปากมดลูก จนกลไกการควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์ถูกกระตุ้นขึ้น ตามมาด้วยการเจริญเติบโตที่ผิดปกติ ซึ่งไม่อาจหยุดยั้งได้ของเซลล์เนื้องอก

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก
- การมีเพศสัมพันธ์กับชายสำส่อน ซึ่งอาจรับเชื้อไวรัส HPV เข้าสู่ร่างกายจากสตรีอื่นมาแล้ว
- การมีคู่นอนหลายคน ทำให้เสี่ยงต่อการรับเชื้อไวรัส HPV มากขึ้น
- การมีเพศสัมพันธ์ขณะอยู่ในวัยเด็กหรือวัยรุ่น เนื่องจากปากมดลูกในระยะนี้ไวต่อการติดเชื้อ HPV
- การสูบบุหรี่หรือขาดสารอาหารบางชนิด ทำให้ร่างกายมีความบกพร่องของกลไกป้องกันไวรัส HPV

จะ เห็นได้ว่า โรคมะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันได้ง่ายมาก เป็นโรคที่ต้องใช้ความเข้าใจในการแก้ปัญหา ความรักระหว่างสามีภรรยา ความรักระหว่างสมาชิกในครอบครัว ความอบอุ่นภายในครอบครัว ความสัมพันธ์ทางเพศที่ไม่สำส่อนจะไม่มีโอกาสรับเชื้อไวรัสมหาภัยชนิดนี้มา ได้เลยค่ะ

สตรีที่มีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูกได้มาก คือสตรีที่มี
- อายุอยู่ในช่วง 30 – 50 ปี
- มีเพศสัมพันธ์ขณะอายุยังน้อย
- มีคู่นอนหลายคน
- สามีเที่ยวโสเภณี
- ติดโรคทางเพศสัมพันธ์บ่อย ๆ เช่น หูดหงอนไก่ เริม
- สูบบุหรี่
- ไม่เคยตรวจภายในเลย

ส่วนอาการแสดงของการเป็นมะเร็งปากมดลูกนั้น- ในมะเร็งระยะเริ่มต้นส่วนมากจะไม่มีอาการใด ๆ เลยค่ะ
- ในรายที่มะเร็งมีอาการลุกลามมากแล้วทำให้เกิดอาการ
- เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์
- เลือดออกทางช่องคลอดที่ไม่ใช่ประจำเดือน
- ตกขาวมีกลิ่นเหม็น มีหนองหรือเลือดปน
- ซีด อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด

อาการ ที่พบของมะเร็งปากมดลูกคือ มีตกขาวจำนวนมากผิดปกติ ลักษณะเป็นหนอง กลิ่นเหม็นหรือมีลักษณะคล้ายน้ำไหลออกมาจากช่องคลอด เลือดออกกระปริบกระปรอย เลือดออกหลังร่วมเพศ หรือเลือดออกในขณะที่ไม่ใช่รอบเดือน เป็นต้น แต่อาการเหล่านี้ไม่ใช่จะเป็นอาการของมะเร็งปากมดลูกเสมอไปนะค่ะ เพราะอาจจะเป็นอาการของโรคทางระบบอวัยวะสืบพันธุ์อื่น ๆ ได้ด้วยค่ะ ซึ่งอย่างไรก็ตามควรไปตรวจวินิจฉัยกับแพทย์ค่ะ

ทำอย่างไรคุณผู้หญิงจึงจะทราบว่า เราเป็นมะเร็งปากมดลูกหรือไม่
เนื่อง จากมะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันและตรวจพบได้ ตั้งแต่เซลเริ่มผิดปกติ และสามารถรักษาให้หายได้ในระยะเริ่มต้น เพราะมีการดำเนินโรค แบบค่อยเป็นค่อยไป ใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน และเป็นอวัยวะที่อยู่ในตำแหน่งที่สามารถตรวจวินิจฉัยง่ายกว่าอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยและรักษาได้เร็ว ก่อนที่จะเป็นมะเร็งลุกลาม จากการตรวจภายในและเก็บตัวอย่างเซลบริเวณปากมดลูกไปตรวจหรือที่เรียกว่าการ ทำ แป๊ปสเมียร์ ( Pap smear ) ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจหามะเร็ง ปากมดลูกระยะเริ่มต้นค่ะ ฉะนั้น คุณผู้หญิงทุกคนควรตระหนักถึง ความสำคัญของการมาตรวจหามะเร็งปากมดลูกให้มาก ๆ นะค่ะ

คุณผู้หญิงควรจะเริ่มตรวจหามะเร็งปากมดลูกเมื่อใด
- ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ทุกช่วงอายุ
- ผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ควรเริ่มตรวจเมื่อ อายุ 30 ปีขึ้นไป

โดยควรมาตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือตามแพทย์นัด ในกรณีที่เริ่มพบความผิดปกติแพทย์อาจนัดให้ไปตรวจถี่ขึ้น

การ ป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่สามารถทำได้ คือ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เช่น หลีกเลี่ยงการมีคู่นอนหลายคน งดสูบบุหรี่ สังเกตอาการผิดปกติและที่สำคัญก็คือการไปพบแพทย์เพื่อตรวจหามะเร็งปากมดลูก ทุกปี ค่ะ

การวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูก ปัจจุบันมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ คือ การใช้กล้องส่องตรวจปากมดลูก ที่เรียกว่า กล้องคอลโปสโคป เป็นกล้องขยายดูปากมดลูกในรายที่ผลการตรวจมะเร็งปากมดลูก โดยการทำแป๊ปสเมียร์ผิดปกติ ทำให้ง่ายต่อการรักษามากขึ้นค่ะ

การ รักษาความผิดปกติของมะเร็งปากมดลูกก่อนระยะลุกลาม สามารถรักษาให้หายได้ โดยการผ่าตัด หรืออาจใช้เครื่องจี้เย็น เครื่องจี้ไฟฟ้า และการใช้เลเซอร์

ส่วน มะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม ก็สามารถรักษาได้ผลดีจากการผ่าตัด การฉายรังสีและการให้ยาเคมีบำบัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของโรค ยิ่งตรวจค้นพบได้เร็วเท่าไรโอกาสหายก็ยิ่งมีมากค่ะ

ดังที่กล่าวมาแล้วว่าการรักษามะเร็งปากมดลูกได้ผลดีมาก อัตราการอยู่รอด 5 ปีในมะเร็งระยะแรก ๆ มีมากถึงกว่า 90% ที่เดียวละค่ะ

การตรวจหามะเร็งปากมดลูกทำได้อย่างไร

มะเร็ง ปากมดลูกเป็นโรคที่สามารถสืบค้นและป้องกันได้ค่ะ โดยการตรวจภายในเพื่อค้นหามะเร็งปากมดลูก เรียกว่า การตรวจแป็ปสเมียร์ค่ะ เป็นการตรวจภายในแล้วใช้ไม้พายเล็ก ๆ ป้ายบริเวณปากมดลูก เพื่อนำเซลล์ไปตรวจหาความผิดปกติในระยะก่อนเป็นมะเร็ง หรือที่เป็นมะเร็งระยะก่อนลุกลาม ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 5 นาที โดยไม่มีความเจ็บปวดใด ๆ ขณะตรวจเลย

สตรีที่มีเพศสัมพันธ์แล้วทุก ช่วงอายุ หรือที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์แต่มี อายุ 30 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจภายในหามะเร็งปากมดลูกด้วยการตรวจแป็ปสเมียร์ปีละ 1 ครั้ง อย่างสม่ำเสมอ ที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลใกล้บ้านนะค่ะ การตรวจภายในไม่ใช่เรื่องน่าอายหรือมีความเจ็บปวดใด ๆ เลยค่ะ สตรีควรพิทักษ์สิทธิในร่างกายเราและป้องกันการเกิดโรคซึ่งสามารถจะป้องกัน ด้วยตัวเราเองนะคะ

สำหรับการเตรียมตัวในการตรวจแป็ปสเมียร์ไม่ยากเลยค่ะ โดยควรจะตรวจทันทีที่นึกได้ว่าปีนี้ยังไม่ได้ตรวจภายใน โดยวันที่จะมาตรวจภายใน

- ไม่ควรจะเป็นวันที่มีประจำเดือน และควรตรวจหลังประจำเดือนหมดไปแล้ว 2 สัปดาห์

- งดเพศสัมพันธ์และงดการสวนล้างช่องคลอดในวันก่อนตรวจ 1 วัน ค่ะ

นอกจากการตรวจหามะเร็งปากมดลูกแล้ว เรายังสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ด้วยการ ดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจให้สมบูรณ์โดยการ

- งดสูบบุหรี่
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและอวัยวะสืบพันธุ์
- ทำจิตใจให้เบิกบาน แจ่มใส
- ไม่สำส่อน หรือมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่สาม

มะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันได้ โดยการลดความเสี่ยงและด้วยการตรวจมะเร็งปากมดลูกปีละครั้ง ซึ่งใช้เวลาเพียง 5 นาที

ปัสสาวะเล็ด ปัญหาสตรีที่แก้ได้

วิจัยพบหญิงไทยวัยหมดประจำเดือนกว่าร้อยละ 80 ประสบปัญหาปัสสาวะเล็ด หลายคนอายไม่ยอมรักษา ถึงขั้นเก็บตัว ไม่ออกจากบ้าน เผย สาเหตุมาจากกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อนสมรรถภาพจากการคลอดบุตร แนะ "ขมิบ" อย่างถูกวิธีทุกวัน เพื่อป้องกันก่อนสายเกินแก้ แถมยังช่วยให้เพศสัมพันธ์ดีขึ้นด้วย


รศ.กรกฏ เห็นแสงวิไล หัวหน้าโครงการวิจัย เรื่อง "สร้างเสริมสุขภาพบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานในสตรีด้วยตนเอง" โดย การสนับสนุนของแผนเปิดรับทั่วไป สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า ปัญหากล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อนสมรรถภาพ ถือเป็นเรื่องที่พบในสตรีทั่วโลก โดยเฉพาะในวัยหมดประจำเดือน เช่น ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า พบว่าสตรีวัยหมดประจำเดือนร้อยละ 75.3 มีปัญหาการกลั้นปัสสาวะ ขณะที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พบว่า สตรีวัยหมดประจำเดือนร้อยละ 89.3 มีปัญหาเดียวกัน และร้อยละ 43.3 มีภาวะมดลูกหย่อนด้วย นอกจากนี้จากการสำรวจสตรีไทยในภาคเหนือตอนบน ช่วงปี 2542-2543 ยังพบว่าผู้หญิงช่วงอายุ 20-24 ปี พบปัญหากลั้นปัสสาวะถึงร้อยละ 41 และวัยหมดประจำเดือนอีกร้อยละ 48


ปัญหาที่ตามมาคืออาการปัสสาวะเล็ด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ มดลูกหย่อน และเพศสัมพันธ์บกพร่อง เนื่อง จากกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่อ่อนแรงและหย่อนลงมาจะทำให้ช่องคลอดขาด ประสิทธิภาพ ไม่สามารถหดตัวได้ขณะมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ยังผายลมบ่อยผิดปกติ



ผู้หญิง women" คนไทยส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ในเรื่องการกลั้นปัสสาวะ ส่วนมากคิดว่าเป็นเรื่องของคนสูงอายุ หรือบางคนรู้สึกอาย กลัวสังคมรังเกียจ จึงไม่มารับการรักษา และพยายามแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง เช่น ดื่มน้ำน้อยลง เข้าห้องน้ำบ่อยๆ ใส่ผ้าอนามัย หรือในรายที่มีอาการฉี่เล็ดมากๆ อาจถึงขั้นเก็บเนื้อเก็บตัว ไม่ยอมออกจากบ้าน" รศ.กรกฏกล่าว


สำหรับสาเหตุของอุ้งเชิงกรานหย่อนสมรรถภาพนั้นมาจากหลายปัจจัย อาทิ การตั้งครรภ์และการคลอด การ ตั้งครรภ์จะทำให้มีการยืดขยายของกล้ามเนื้อและพังผืดรอบอุ้งเชิงกราน ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ ส่วนการคลอดเป็นการกระทำโดยตรงต่อกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน คือมีการกรีดฝีเย็บ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง นอกจากนี้ในผู้สูงอายุ สตรีวัยหมดประจำเดือน คนอ้วน คนใช้แรงงานยกของหนัก ก็เกิดภาวะกล้ามเนื้อหย่อนยานได้ง่าย รวมไปถึงโรคเรื้อรัง เช่น ถุงลมโป่งพอง ไอเรื้อรัง กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กล้ามเนื้องอก ล้วนก่อเกิดอาการปัสสาวะเล็ดได้


รศ.กรกฏกล่าวต่อว่า ใน การวิจัยได้เสนอวิธีการให้ความรู้และสร้างเสริมสุขภาพสตรีเข้าสู่วัยหมด ประจำเดือน สตรีที่เริ่มมีอาการปัสสาวะเล็ด และสตรีมีครรภ์ โดยแนะนำการบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานอย่างถูกต้องด้วยตนเอง ด้วยการใช้สื่อวีดิทัศน์ที่ผลิตขึ้นอย่างมีคุณภาพ แล้วใช้แบบ สอบถาม วัดผลสัมฤทธิ์ในสตรีวัย 40-60 ปี ประมาณ 60 คน ในจังหวัดเชียงใหม่และพิษณุโลก เพื่อเปรียบเทียบการเรียนรู้ด้วยตนเองก่อนและหลังการใช้วีดิทัศน์ และศึกษาในสตรีที่เริ่มมีอาการปัสสาวะเล็ดจำนวน 30 คน เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมและสตรีมีครรภ์จำนวน 30 คน



"ผล ออกมาว่ากลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับอุ้งเชิงกรานเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ ชัดเจน และยังฝึกขมิบอุ้งเชิงกรานอย่างถูกวิธีต่อเนื่องถึง 12 สัปดาห์ ทำให้คนที่เคยมีปัญหาปัสสาวะเล็ดบ่อยๆ ลดความรุนแรงของอาการลง กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานแข็งแรงและกระชับตัว ส่งผลต่อการมีเพศสัมพันธ์ที่ดีขึ้น ผู้เข้าร่วมทดลองหลายคนเล่าว่าได้รับคำชมจากสามีในเรื่องนี้" หัวหน้าโครงการวิจัยกล่าว


ผู้หญิง womenส่วน การทดสอบสมรรถภาพกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานด้วยตนเองนั้น รศ.กรกฏแนะนำว่าทำได้โดยการดื่มน้ำ 2 แก้ว แล้วรอประมาณ 10-15 นาที จนรู้สึกปวดปัสสาวะ ให้กระโดดพร้อมกันจนสองเท้าลอยพ้นพื้นติดต่อกัน 20 ครั้ง จากนั้นกระโดดกางขาหน้า-หลัง 4 ครั้ง และไอแรงๆ อีก 2-3 ครั้ง สังเกตว่ามีปัสสาวะเล็ดหรือไม่ เพราะในคนปกติกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานควรควบคุมได้ ไม่มีอาการปัสสาวะเล็ด


อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเกิดอาการปัสสาวะเล็ดหรือไม่ วิธีการป้องกันและบรรเทาอาการของโรคทำได้โดยการขมิบอุ้งเชิงกรานแรงๆ ค้างไว้ 10 วินาที แล้วปล่อยประมาณ 5 วินาที ทำซ้ำอีกจนครบ 5 ครั้ง แล้วขมิบ-ปล่อยแบบแรงเต็มที่อีก 5 ครั้ง วันหนึ่งๆ ควรทำอย่างน้อย 4-5 ครั้ง ในช่วงเช้า สาย บ่าย เย็น และก่อนนอน โดยต้องฝึกขมิบในขณะที่ทำกิจวัตรประจำวัน เช่น นั่ง ยืน เดิน จาม จนกลายเป็นนิสัย จะส่งผลดีต่อสตรีในระยะยาว


ด้าน น.พ.ชาตรี เจริญศิริ กรรมการบริหารแผนเปิดรับทั่วไป สสส. กล่าวว่า โครงการ วิจัยเรื่องสร้างเสริมสุขภาพบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานในสตรีด้วยตนเอง เป็นงานวิจัยเชิงนวัตกรรมที่หยิบเอาผลการวิจัยหรือผลสำรวจของต่างประเทศมา ปรับใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทย และยังคิดค้นวิธีการสอนให้หญิงไทยรู้จักขมิบอุ้งเชิงกรานอย่างถูกวิธีได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านสื่อวีดิทัศน์ และการฝึกอบรม ช่วยแก้ไขปัญหาของสตรีจำนวนมากที่ประสบปัญหาเรื้อรังมานาน


"เป็น ที่น่ายินดีที่ระยะหลังงานวิจัยของสสส.ไม่ได้ทำในลักษณะขึ้นหิ้ง แต่มีการจัดการให้ใช้ผลงานวิจัยนั้นๆ มีคนหยิบยกมาทำต่อ สาธิตให้เห็นถึงทางออกของปัญหา เสน่ห์อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในระยะหลังคืองานวิจัยก่อให้เกิดความผูกพัน ระหว่างนักวิจัยกับชุมชน โดยจะพบว่างานวิจัยหลายชิ้นเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน ดึงชาวบ้านเข้ามาเป็นนักวิจัย ขณะที่นักวิชาการเป็นเพียงพี่เลี้ยง หรือบางชิ้นอาจารย์มหาวิทยาลัยที่เป็นคนในพื้นที่เข้าไปทำกับชุมชนของตนเอง ทำให้งานวิจัยนั้นเกิดความยั่งยืนแม้จะสิ้นสุดโครงการไปแล้ว นับเป็นการจุดตะเกียงช่วยส่องสว่างในที่มืด แม้จะยังไม่ทั่วถึงทุกพื้นที่ทุกชุมชนก็ตาม" น.พ.ชาตรีกล่าว

ดูแลดวงตาให้สวยใสอยู่เสมอ...

ดูแลดวงตาให้สวยใสอยู่เสมอ...


















ใครที่ใช้ดวงตาอย่างหนัก แล้วอยากผ่อนคลายผิวรอบดวงตา วันนี้มีเทคนิคมาบอก...
เทคนิคการผ่อนคลายผิวรอบดวงตา วิธีทำง่าย ๆ คือ เพียงใช้ปลายนิ้วชี้ กลาง และนาง ยืดคิ้วออกด้านข้าง 3 ครั้งใช้นิ้วกลางของทั้งสองข้างหมุนวนรอบดวงตาพร้อมๆ กัน โดยวนตามเข็มนาฬิกา ในทุกครั้งให้หยุดกดที่บริเวณหัวคิ้ว ทำแบบนี้ซ้ำทั้งหมด 6 รอบ

และใช้นิ้วกลางกดจุดไล่ตั้งแต่หัวคิ้ว ถึงขมับ 3 รอบ กดจุดไล่ลงมาที่บริเวณใต้ตา ไล่ตั้งแต่หัวตาถึงหางตา 3 รอบ ใช้นิ้วกลางนวดที่บริเวณขมับ หมุนเป็นรูปเลขแปด ทำซ้ำทั้งหมด 6 รอบ ทำซ้ำขั้นตอนที่ 2-5 ทั้งหมด 3 รอบ นำมือทั้งสองข้างปิดที่ดวงตา ลากน้ำหนักที่ปลายนิ้วออกไปที่ด้านข้างกรอบหน้า แล้วจึงค่อย ๆ ยกฝ่ามือออกจากใบหน้าเพียงเท่านี้ก็จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อได้

หากต้องการความอ่อนเยาว์ของดวงตา ควรเข้ารับการตรวจตาเป็นประจำทุก ๆ 2-4 ปี และทุก ๆ 1-2 ปี สำหรับผู้มีอายุ 65 ปีขึ้นไป สำหรับ ผู้ที่ต้องนั่งจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นประจำ เริ่มฝึกนิสัยพักสายตาโดยการมองออกไปไกล ๆ ทุก ๆ 10-15 นาที สวมใส่แว่นตาดำที่ปกป้องและกรองแสงยูวีทุก ๆ ครั้งที่ทำกิจกรรมกลางแจ้ง ปกป้องและระวังไม่ให้ดวงตาสัมผัสควัน และฝุ่นละอองต่าง ๆ โดยตรง


แนะนำอีกนิดสำหรับการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์รอบดวงตา

การ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับรอบดวงตา ควรเลือก ครีมที่ใช้สำหรับรอบดวงตาโดยเฉพาะ ห้ามนำครีมทาหน้ามาใช้ปะปนกัน ไม่เช่นนั้นอาจก่อให้เกิดอาการอักเสบบวมได้ เนื่องจากเนื้อครีมที่ข้นเกินไปอาจซึมลงไปอุดตันท่อน้ำตาได้ ควรเลือกซื้อครีมที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ เพื่อความอ่อนโยนต่อผิวที่บอบบางที่สุด และสำหรับกลุ่มวัยรุ่น หรือผู้ที่มีผิวมัน ให้มองหาผลิตภัณฑ์ประเภทเจลเพิ่มความสดชื่นจะเหมาะที่สุด แต่ไม่ว่าเป็นครีมชนิดใดก็ตามควรมีกันแดดผสม

สำหรับวิธีใช้ ให้ ทารอบดวงตาด้วยนิ้วนาง ( เพราะแรงกดน้อยที่สุด ) ทาวนจากหัวตาด้านล่างวนขึ้นสู่หัวตาด้านบน จะช่วยให้ผิวมีความยืดหยุ่น และลดริ้วรอยที่จะเกิดในอนาคตได้อีกด้วย

อ่านแล้วอย่าลืมหันมาดูแลรักษาดวงตาของเรากันดีกว่า เพื่อสุขภาพตาที่ดี.

ขอบคุณภาพประกอบ : นิตยสาร Ray